นวัตกรรมของในหลวง

นวัตกรรมของในหลวง

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ (โครงการคลองลาน) จ. กำแพงเพชร



เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรบ้านสักงาม หมู่ที่ ๑ ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเข้าเฝ้า ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนสักงามประชาสรรค์ ทรงได้รับการถวายฎีกาจากราษฎรชาวไทยภูเขาที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เป็นชาวไทยภูเขากลุ่มที่ได้ฝึกศิลปาชีพที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ว่า ได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และได้รับสัญชาติไทย อีกทั้งทรงพบว่า มีราษฎรยากจนเป็นจำนวนมากขาดแคลนที่ดินทำกิน มีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง และบางส่วนไม่มีงานทำ ราษฎรเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวไทยภูเขา มีความสามารถพิเศษในการทำเครื่องเงิน ปักผ้า และจักสาน โดยเฉพาะการทำเครื่องเงินและปักผ้านั้น สามารถทำได้อย่างสวยงามและฝีมือดี น่าจะได้มีการรวมกลุ่มราษฎรชาวไทยภูเขาต่าง ๆ เหล่านี้ โดยจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามกลุ่มอาชีพที่ราษฎรถนัด โดยให้หัวหน้าครอบครัวที่ทำหน้าที่ปลูกต้นไม้รักษาป่าในยามว่าง หลังจากการปลูกป่าก็ให้ทำเครื่องเงิน แกะสลัก จักสาน ส่วนแม่บ้านให้ปักผ้าส่งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพต่อไป ในการนี้ ได้พระราชทานพระราชเสาวนีย์ความว่า

“ให้แม่ทัพภาคที่ ๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรและป่าไม้จังหวัดกำแพงเพชร จัดหาพื้นที่ทำกินให้แก่ชาวบ้านเขาแม่พืช และบ้านแปลงสี่ โดยจัดที่ทำกินให้ครอบครัวละ ๕ ไร่ และให้มีการพัฒนาคุณถาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา ตลอดจนส่งเสริมให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยว จะทำให้ขายสินค้าของที่ระลึกได้”

จากพระราชเสาวนีย์ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ณ พื้นที่บ้านอุดมทรัพย์ หมู่ที่ ๘ ตำบลหินดาต กิ่งอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร มีเนื้อที่ประมาณ ๒๑๐ ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน ทำไร่เลื่อนลอย ได้มีที่ดินทำกินเป็นหลักแหล่ง ส่งเสริมให้ราษฎรได้ประกอบอาชีพที่ถนัด พร้อมกับช่วยฟื้นฟูสภาพป่าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และส่งเสริมให้หมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป

ผลการดำเนินงาน

จากที่เริ่มโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ ๑ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ มีการจัดราษฎรชาวไทยภูเขากลุ่มเป้าหมายเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการจำนวน ๕๓ ครอบครัว ๒๗๙ คน รายได้เฉลี่ยนของชาวไทยภูเขาเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็น ๖ เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการในปี ๒๕๓๗ กล่าวคือ รายได้เฉลี่ยนต่อหัวต่อปีของชาวไทยภูเขาก่อนเข้าร่วมโครงการเท่ากับ ๓,๓๔๗ บาท และเพิ่มขึ้นเป็น ๑๘,๗๒๙ บาท เนื่องจากได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งการเป็นลูกจ้างในการดำเนินงานโครงการด้วย

การพัฒนาพื้นที่โครงการทางด้านการศึกษาได้มีการส่งเสริมให้เด็กชายไทยภูเขาในโครงการเข้าศึกษาในโรงเรียนซึ่งอยู่ใกล้เคียงและนอกพื้นที่โครงการทำให้ราษฎรชาวไทยภูเขาสามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ประมาณร้อยละ ๙๐ ยกเว้นผู้สูงอายุ ด้านแหล่งน้ำ ได้มีการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้เลี้ยงปลาและการเกษตร ส่งเสริมและฝึกอบรมวิชาชีพให้กับราษฎรชาวไทยภูเขาอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำเครื่องเงิน ปักผ้า แกะสลัก ตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ พร้อมกับส่งเสริมให้ราษฎรชาวไทยภูเขาในพื้นที่โครกงารเข้าร่วมปลูกป่าจำนวน ๒,๙๐๐ ไร่ และซ่อมบำรุงรักษาป่าในพื้นที่ โดยมีการอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า ด้านบริการสาธารณสุข มีโรงพยาบาลปางศิลาทองซึ่งตั้งอยู่ใกล้โครงการฯ สามารถให้ราษฎรได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การบริการทันตกรรมเบื้องต้น อย่างสะดวกรวดเร็ว และหมู่บ้านได้รับการประกาศเป็นหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้า มีการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับราษฎรในโครงการฯ และราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้รับประโยชน์จากถนนและไฟฟ้าร่วมกัน

จากความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการในระยะที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้มีหนังสือถึงราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เพื่อกราบบังคมทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อขยายผลโครงการไปยังพื้นที่โครงการระยะที่ ๒ ได้ต่อไปและได้ดำเนินการในปี ๒๕๔๓ คือ พื้นที่บ้านปางมะนาว ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี และบ้านปางมะละกอ ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวดักำแพงเพชร โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๖๖ ราย รวมพื้นที่ทั้งหมด ๓๙๖ ไร่

ที่มา : http://www.belovedqueen.com/index.php/2009-07-09-06-09-36/2009-07-09-06-11-14/29-2009-07-06-09-01-27.html
วันจันทร์ที่ 06 กรกฏาคม 2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น